บทที่ 4 " AIS และกระบวนการทางธุรกิจ "
กระบวนการทางธุรกิจ หมายถึง ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่างๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไป เพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่ากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินนั้นมาใช้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กรนั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลาด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
8. การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)
ทั้งนี้เพราะงานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบคือการศึกษาองค์ประกอบขององค์การ องค์การประกอบของสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายคือ การเพิ่มผลผลิตในองค์การและการที่พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน
กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (The human resource management process)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource planning) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต
1.การพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ (Forecasting human resource needs)
2.การวิเคราะห์งาน(Job analysis)
ขั้นที่ 2 การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน: การสรรหา และการคัดเลือก
1.การสรรหาบุคคล (Recruitment) หมายถึง กรรมวิธีในการแสวงหาบุคคลที่เหมาะสม
1.1 ระบบการสรรหาบุคคล (Recruitment system) สรรหาจากบุคคลได้ 2 ประเภท
(1) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage system)
(2) ระบบคุณธรรม (Merit system)
2.การคัดเลือกบุคคล (Selecting)
ขั้นที่ 3 การฝึกอบรมและการพัฒนา
การฝึกอบรม (Training)
1.การให้คำแนะนำ (Orientation)
2.การฝึกอบรม (Training)
3.การพัฒนาอาชีพ (Career development)
ขั้นที่ 4 การบริหารค่าตอบแทน
การบริหารค่าตอบแทน (Compensation management)
ขั้นที่ 5 การประเมินผลพนักงาน
การประเมินผลพนักงาน (Employee evaluation)
ขั้นที่ 6 การย้ายพนักงานและการแทนที่
การย้ายพนักงานและการแทนที่ (Employee movement and replacement)
การจัดหาบุคคล
การจัดหาบุคคล (Staffing) หมายถึง การคัดเลือก การบรรจุตำแหน่งงานต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์การ มีการรับสมัครงาน คัดเลือกรวมถึงการแต่งตั้ง การประเมินผล การเลื่อนตำแหน่ง การให้รางวัล การฝึกอบรมและการพัฒนา
ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนและประเภทของผู้บริหารที่เป็นที่ต้องการ (Factor affecting the number and kinds of managers required) ขนาด และความซับซ้อนของโครงสร้างองค์การ แต่คุณสมบัติของผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์(Vision) มีความสามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา มีความสามารถในการวางแผนประนีประนอม ชักจูงที่ดี และเป็นที่ปรึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาได้
ปัจจัยทางสถานการณที่มีผลต่อการจัดหาบุคลากร (Situation factors affecting staffing) ปัจจัยภายนอกประกอบด้วยระดับการศึกษา ทัศนคติทั่วไปในสังคม ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการจัดหาบุคคลากร คือ เป้าหมายขององค์การ เทคโนโลยีโครงสร้างองค์การ ชนิดของลูกจ้าง ผลตอบแทน ประเภทของนโยบาย
1. สภาพแวดล้อมภายนอก (The external environment) เช่น วัฒนธรรมทางสังคม การเมือง กฎหมาย เช่น ตำแหน่งงานบางตำแหน่งจำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาโดยเฉพาะทาง2. สภาพแวดล้อมภายใน (The Internal Environment) เช่น การจัดหาบุคคลากรภายในองค์การ ต้องมีการพิจารณาจากพนักงานในแต่ละแผนกที่มีความรู้ ความสามารถ ได้ทำงานเป็นเวลาพอสมควร ผลงานออกมาดี องค์การก็ควรที่จะเลื่อนตำแหน่ง ควรจะถนอมพนักงานให้อยู่กับองค์การนานๆ
อ้างอิง : https://sites.google.com/site/karbriharthraphyakrmnusy/krabwnkar-brihar-thraphyakr-mnusy/kar-cadha-bukhkhl
กระบวนการผลิต
การผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการที่เรียกอีกอย่างว่าวงจรอายุการผลิต ดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าให้เสร็จสมบูรณ์ วงจรชีวิตเริ่มต้นด้วยการสร้างใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง จะสิ้นสุดด้วยสินค้าที่ผลิตเสร็จสิ้นที่พร้อมสำหรับลูกค้าหรือขั้นตอนอื่นของการผลิต แต่ละขั้นตอนในวงจรชีวิตต้องใช้ชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อจะดำเนินกระบวนการให้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อแต่ละขั้นตอนจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังจะแสดงการเปลี่ยนแปลงในสถานะการผลิต ชนิดต่างๆของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน
โมดูล การควบคุมการผลิต จะเชื่อมโยงกับโมดูลอื่นๆ เช่น การจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ การบริหารสินค้าคงคลัง บัญชีแยกประเภททั่วไป การบริหารคลังสินค้า การลงบัญชีโครงการและ จัดการองค์กร การรวมนี้สนับสนุนลำดับการเคลื่อนย้ายของข้อมูล ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้เสร็จสมบูรณ์
กระบวนการผลิตโดยทั่วไปจะมีผลมาจากวิธีการลงบัญชีต้นทุนและการประเมินค่าสินค้าคงคลัง ที่ถูกเลือกสำหรับกระบวนการผลิตเฉพาะ Finance and Operations สนับสนุนทั้งต้นทุนจริง (เข้าก่อน ออกก่อน [FIFO]; เข้าหลัง ออกก่อน [LIFO]; ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่; และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นงวด) และวิธีการต้นทุนมาตรฐาน lean manufacturing ถูกนำมาใช้ตามหลักการการคิดต้นทุนแบบย้อนกลับ
ตัวเลือกของวิธีการประเมินต้นทุนยังกำหนดความต้องการสำหรับการรายงานเกี่ยวกับปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรในระหว่างกระบวนการผลิตอีกด้วย โดยทั่วไป วิธีการต้นทุนจริงต้องการการรายงานอย่างถูกต้องในระดับงาน ในขณะที่วิธีการคิดต้นทุนประจำงวดอนุญาตให้มีการรายงานปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรแบบ granular น้อยลง
การผลิตโหมดผสม
ผลิตภัณฑ์แตกต่างกันและโทโพโลยีการผลิตต้องการแอพลิเคชันของชนิดใบสั่งที่แตกต่างกัน Finance and Operations สามารถใช้ชนิดใบสั่งต่างๆในโหมดผสม กล่าวอีกอย่างคือ ชนิดใบสั่งทั้งหมดอาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบของการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหนึ่ง
ใบสั่งผลิต– นี่เป็นชนิดใบสั่งแบบคลาสสิกเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะหรือผลิตภัณฑ์ย่อยในปริมาณที่กำหนดในวันเฉพาะเจาะจง ใบสั่งผลิตจะขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต (Bom) และกระบวนการผลิต
ใบสั่งชุดงาน– ชนิดใบสั่งนี้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมกระบวนการและกระบวนการที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งการแปลงการผลิตจะเป็นไปตามสูตร หรือซึ่งสินค้าร่วมและสินค้าพลอยได้อาจเป็นสินค้าสุดท้ายที่เพิ่มเติมหรือแทนที่สินค้าหลัก ใบสั่งชุดงานใช้ชนิด สูตร BOMs และกระบวนการผลิต
คัมบัง– คัมบังจะถูกใช้เพื่อให้สัญญาณกระบวนการ lean manufacturing ที่ซ้ำกัน ตามขั้นตอนการผลิต กฎคัมบัง และ BOMs
โครงการ– โครงการการผลิตรวมผลิตภัณฑ์และบริการที่มีกำหนดการและงบประมาณที่กำหนดให้ ส่วนการผลิตของโครงการที่สามารถถูกจัดส่งผ่านใบสั่งชนิดอื่นใดได้
การวางแผนทางการเงิน
การวางแผนทางการเงิน หมายถึง การกำหนดการใช้จ่ายเงินต่างๆ ให้สอนคล้องกับแผนงานที่จัดทำขึ้นและระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้ไปของเงินในกิจกรรมต่างๆ
การวางแผนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. การวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจำเป็นในการดำเนินงานธุรกิจโดยจะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ
หลักการวางแผนทางการเงิน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทำให้มีความจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต หลักในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้
1. การประเมินสถานการณ์
2. กำหนดเป้าหมาย
3. การจัดทำแผนทางการเงิน
4. การนำแผนไปปฏิบัติ
5. การวัดผลและการปรับปรุงแก้ไข
บุคคลที่เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ได้แก่
1. รัฐบาล เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการสาธารณะ
2. ธุรกิจ เป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งในการผลิตสินค้าก็ต้องการแรงงาน ที่ดิน และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้บริโภค เป็นผู้มีบทบาทในการวางแผนทางการเงินมาก คือการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค
การจัดการทางการเงิน
การจัดการทางการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงิน เช่น การจัดซื้อและการใช้ประโยชน์จากเงินทุน ซึ่งใช้หลักทั่วไปของทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. การตัดสินใจลงทุน
2. การตัดสินใจทางการเงิน
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน
หน้าที่ของการจัดการทางการเงิน
1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน
2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน
3. แหล่งที่มาของเงินทุน
4. แผนการลงทุน
5. การจัดการด้านกำไรส่วนเกินต่างๆ
6. การควบคุมทางการเงิน
งบการเงินและงบประมาณ
รายได้บุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปีซึ่งอาจจะได้มาจากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน รายได้จากงานส่วนตัว โบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลที่ได้จากเงินออมและการลงทุนการจำหน่ายสินทรัพย์ และรายได้อื่นๆ
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล
1. อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล
2. การศึกษา จะเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล
3. อาชีพ การเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคล
4. คุณสมบัติเฉพาะตัว บุคคลแต่ละคนจะแตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
5. แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล
งบการเงินส่วนบุคคล
งบการเงินส่วนบุคคล เป็นงบสรุปผลการใช้จ่ายเงิน และช่วยวางแผนทางการเงินในอนาคตซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้รายจ่ายและบันทึกต่างๆ งบการเงินส่วนบุคคลที่นำมาใช้บันทึกรายการ มีดังนี้
1. งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นงบสรุปรายละเอียดรายได้และรายจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมา หรือเป็นรายงานที่แสดงที่มาของรายได้และที่ไปของรายจ่าย
2. งบแสดงฐานะการเงินส่วนบุคคล เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน จำนวนเท่าใด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
2.1 สินทรัพย์
2.2 หนี้สิน
2.3 ส่วนของเจ้าของ
3. การบันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องเรือน และเครื่องใช้ต่างๆการเก็บบันทึกรายการควรระบุชื่อทรัพย์สิน/วันที่ซื้อ/ร้านที่ซื้อและราคาที่ซื้อ
4. บันทึกรายการเสียภาษี การเก็บรวบรวมบันทึกรายการเสียภาษีไว้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ทราบถึงกำหนดของการชำระภาษี รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายได้ถูกต้องว่ารายการภาษีประเภทใดบ้างที่จะต้องชำระ
5. บันทึกหลักฐานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ โฉนดที่ดิน พิมพ์เขียว แบบบ้านและบันทึกรายจ่ายการต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารบ้านที่อยู่อาศัย
6. บันทึกหลักฐานการประกันภัย เมื่อบุคคลนั้นได้รับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินหรือชีวิตโดยที่บุคคลนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัย และเก็บรักษาไว้เป็นระบบที่ปลอดภัย บุคคลหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะสามารถนำหลักฐานไปอ้างสิทธิ์ในการรับสินไหมทดแทนได้ภายในกำหนดที่บริษัทรับประกัน
7. บันทึกหลักฐานการลงทุน เมื่อมีการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาลการบันทึกรายการต่างๆ จะเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
8. บันทึกหลักฐานสำคันอื่นๆ
งบประมาณส่วนบุคคล
งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน
งบประมาณส่วนบุคคล หมายถึง การวางแผนประมาณรายได้รายจ่ายล่วงหน้า เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
การจัดการเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง
การจัดการเงินสด คือ การบริหารที่เกี่ยวกับประสิทธิในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสดและการลงทุน
สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสดและสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
เงินสดสำรอง หมายถึง เงินที่ได้เก็บออมไว้ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น เงินสดที่สำรองไว้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ถ้าไม่นำมาใช้ จึงต้องหาทางบริหารเงินสำรองให้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ
กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล หมายถึง การบริหารการเงินของบุคคลอย่างฉลาด ด้วยการนำหลักและวิธีการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการตัดสินในจนทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
อ้างอิง : https://sites.google.com/site/natpatai24456/hnwy-thi5-kar-cadha-laea-kar-wangphaen-thangkar-ngein
ERP ที่ง่ายต่อการนำไปใช้งาน คือ สิ่งที่คุณต้องการ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังเช่น ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้บริโภครายใหม่ การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานตลอดจนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ธุรกิจต่างต้องปฏิบัติตาม หรือในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (life sciences) ก็มีการควบคุมคุณภาพและเอกสารด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย การเพิ่มแรงกดดันทางด้านต้นทุนและการย้ายไปใช้วิธีการผลิตใหม่ๆ เช่น การใช้เซลล์บำบัด (Cell Therapy) หรือเทคนิคการประมวลผลอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการรักษา
Clinical Practice Guidelines (CPG) กำลังรับมือกับ Amazon effect ซึ่งหมายถึง พวกเขากำลังสร้างช่องทางธุรกิจออนไลน์อย่าง E-Commerce ในขณะเดียวกันผู้ผลิตยานยนต์ก็กำลังคิดหาวิธีการออกแบบยานพาหนะที่ชาญฉลาดและราคาไม่แพง
มันไม่สำคัญว่าคุณจะอยู่อุตสาหกรรมอะไรเพราะแบบแผนธุรกิจต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่า สถาปัตยกรรมและแอพพลิเคชันทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิตและแอพพลิเคชันระดับองค์กรต้องสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตามความต้องการของธุรกิจได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น